เป้าหมายรายสัปดาห์
:
นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับครอบครัวของหนูบอกความเหมือน/ความแตกต่างของแต่ละแต่ละครอบครัว
และบุลคลในครอบครัวมีใครบ้าง และสำคัญกับเราอย่างไรบ้าง
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
|
โจทย์:
ครอบครัวของหนู
Key
Questions
-นักเรียนคิดว่าครอบครัวสำคัญอย่างไรบ้าง
-ครอบครัวของนักเรียนมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเองอย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวมีความสำคัญกับเด็กอย่างไร
Blackboard Share : เด็กๆจะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีครอบครัว
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-
บรรยากาศภายในโรงเรียน
-บรรยากาศภายในโรงเรียน
- นิทานเรื่อง
“
บ้านกลางสวน ”
เรื่อง “ครอบครัวของ โอเว้น ”
- เพลง
|
วัน จันทร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
-ครู เล่านิทานเรื่อง “ บ้านกลางสวน”
-ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ในครอบครัวของเด็กๆมีใครบ้าง ”
เชื่อม :
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง
ใช้:
นักเรียนแต่
Web
ครอบครัวของหนูมีใครบ้าง
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง “ ครอบครัวของโอเว้น”
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
"
นักเรียนคิดว่าทำไมเราถึงมีครอบครัว
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของคนในครอบครัวของนักเรียน
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนอยากทำอะไรเพื่อที่จะให้ครอบครัวของเรามีความสุข
ใช้
:
นักเรียนประดิษฐ์พวงกุญแจรูปคน
วันพุธ
ชง :
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง “ ครอบครัวแสนสุข”
-
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดถ้าวันหนึ่งนักเรียนไม่มีครอบครัวจะเป็นอย่างไร?
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นเกี่ยวกับภาพและนิทานที่ได้ฟัง
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับครอบครัวของหนูมีใครบ้างและสมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
ใช้
:
นักเรียนปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง
:
- ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง “
ครอบครัว หึ่ง หึ่ง”
-
ครูและนักเรียนเดินสำรวจฟาร์มของพี่สัตว์ต่างๆและสถานที่ภายในโรงเรียนว่าเหมือนหรือแตกต่างกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไร
-
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเห็นครอบครัวของพี่สัตว์มีใครบ้าง”
-ถ้าในครอบครัว ไม่มีคุณพ่อ คุณแม่ เด็กๆคิดว่าจะเป็นอย่างไร
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจบ้านของพี่สัตว์ว่าเขาอยู่กันเป็นครอบครัวเหมือนหรือต่างกันกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไร?
เชื่อม
:
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจฟาร์มและสถานที่ต่างๆภายในโรงเรียน
ใช้ :
- นักเรียนประดิษฐ์กรอบรูปครอบครัวของหนู
|
ชิ้นงาน
-แตก web ครอบครัวของหนู
-
ประดิษฐ์พวงกุญแจรูปคน
-ปั้นดินน้ำมันครอบครัวของหนู
-ประดิษฐ์กรอบรูปครอบครัวของหนู
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวของหนู
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับถ้าเราไม่มีครอบครัวนักเรียนจะทำอย่างไร
-
พูดคุยเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียนมีความสำคัญอย่างไร
-
พูดคุยเกี่ยวกับที่ได้เห็นจากการเดินสำรวจครอบครัวของพี่สัตว์ว่าเหมือนหรือต่างกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไรบ้าง
|
ความรู้ :
นักเรียนสามารถแสดงความเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับครอบครัวของหนูบอกความเหมือน/ความแตกต่างของแต่ละแต่ละครอบครัว
และบุคคลในครอบครัวมีใครบ้าง และสำคัญกับเราอย่างไรบ้าง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี
กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูภาพยนตร์และคลิป
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้
- การคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการสังเกต
สิ่งต่างๆโดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจากการเดินสำรวจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู
ผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่า
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ
แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
- อธิบายสิ่งที่อยากเรียนรู้อย่างมีเหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
-รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อครอบครัว
ชุมชน และสังคม
-
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- เครารพตนเอง และผู้อื่น
- มีเป้าหมายที่ดีงามต่อตนเอง
|
|
วันศุกร์(1ชั่วโมง)
ชง
- ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกตเช่น
(แผงไข่ ต้นหอม)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “นำมาทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปลูกต้นหอมไร่ดิน
ใช้
- ครูและนักเรียนร่วมกันปลูก“ต้นหอม”
|
|
|
สิ่งที่ได้ทำและการเรียนรู้ที่เกิดในสัปดาห์ที่ 6
ตั้งแต่วันจันทร์จนถึงวันศุกร์
ได้เห็นถึงความตั้งใจของเด็กๆ ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ เด็กๆดูแจ่มใสในวันอังคารครูกอยได้มานิเทศกิจกรรมสุนทรียะ
และกิจกรรมจิตศึกษาได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม
ด้วยในช่วงเช้าฝนตกทำให้กิจกรรมหยุดเพื่อให้เด็กเข้าไปในตึก วันนั้นครูกอยได้บอกวิธีขณะทำกิจกรรมให้ร้องเพลงเก็บต่อเนื่องไปเลย
ชมเชยคนที่พร้อม คนที่น่ารัก
ได้เล่านิทานก่อนคาบ PBL ในวันพุธและวันพฤหัสบดี
วันพุธเป็นกิจกรรมขนมแห่งรักกลุ่มสุดท้าย
ผู้ปกครองได้พาเด็กๆทำขนมโค ซึ่งเป็นขนมทางเขตภาคใต้เด็กสนุก และตั้งใจ
น้องได้เรียนรู้การปั้น และยังมีการนำแป้งแต่ละสีมาผสมกันอย่างสนุก
วันพฤหัสบดีเป็นวันที่อาจารย์มานิเทศน์กลาง
อาจารย์ได้ให้เล่าถึงความรู้สึกว่าเป็นยังไง
คาดหวังว่าจะได้เกรดอะไรซึกหนูก็เห็นด้วยกับคำตอบของครูอุ้มที่ในครั้งแรกที่เรียนมาคาดหวังกับเกรด
อยากได้เกรดเยอะๆ แต่พอได้มาอยู่ที่นี่เกรดไม่ได้มีความสำคัญและวัดอะไรเราได้เลย
แต่สิ่งที่ได้รับและประสบการณ์ที่ได้จากที่นี่ต่างหากที่มีค่าที่สุด
ที่ทำให้เราได้รับอะไรมากมายที่หาไม่ได้เลยจากห้องเรียน
หลายๆคนอาจคิดว่ามาอยู่ที่นี่งานเยอะ ไม่มีเวลา
แต่ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้แฝงไปด้วยความรู้ ทักษะต่างๆที่ได้ก็ไม่ได้หนักอะไรเลย
อาจารย์ยังบอกอีกว่าเราโชคดีที่ได้มาที่นี่
ในวันศุกร์ได้มีการแสดงละครของกลุ่มนักศึกษาฝึกสอนถึงเป็นประสบการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ได้แสดงในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนทั้งการใส่ชุดนักเรียน
ให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และแขกที่มาดูงาน ก่อนแสดงทั้งตื่นเต้น ทั้งกลัว
แต่พอได้แสดงจริงตื่นเต้นยิ่งกว่า ลืมบทที่ซ้อมมา
ลืมขั้นตอนไปหมดแต่การแสดงก็จบได้ด้วยดี ได้เห็นรอยยิ้ม
และเสียงหัวเราะของทุกคนก็รู้สึกคุ้มกับสิ่งที่เราได้ร่วมกันทำ
ภาพกิจกรรมวันจันทร์
กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม
ส่งน้ำ
ขั้นเตรียม
ขั้นกิจกรรม
นักเรียนส่งรับแก้วน้ำ แล้วขอบคุณสิ่งต่างๆ
ขั้นจบ
ชื่นชมความตั้งใจ และมอบพลังความรัก
PBL
ครู เล่านิทานเรื่อง “ บ้านกลางสวน” ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
“ในครอบครัวของเด็กๆมีใครบ้าง
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับครอบครัวของนักเรียนมีใครบ้าง
นักเรียนแต่
Web ครอบครัวของหนูมีใครบ้าง
กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม ชื่อนั้นสำคัญไฉน
ขั้นเตรียม
ขั้นกิจกรรม
ขั้นจบ เก็บอุปกรณ์โดยมอนิเตอร์ ชื่นชมความตั้งใจ และมอบพลังความรัก
PBL
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง “ ครอบครัวของโอเว้น”
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
" นักเรียนคิดว่าทำไมเราถึงมีครอบครัวจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของคนในครอบครัวของนักเรียน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนอยากทำอะไรเพื่อที่จะให้ครอบครัวของเรามีความสุขและนักเรียนก็ประดิษฐ์พวงกุญแจรูปคน
กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม มาลัยแห่งรัก
ขั้นเตรียม
ขั้นกิจกรรม
ขั้นจบ
PBL
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ครูเล่านิทานเรื่อง
“ ครอบครัวแสนสุข”
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดถ้าวันหนึ่งนักเรียนไม่มีครอบครัวจะเป็นอย่างไร? ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นเกี่ยวกับภาพและนิทานที่ได้ฟัง
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับครอบครัวของหนูมีใครบ้างและสมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
จากนั้นนักเรียนวาดภาพครอบครัวของหนู และทำขนมโคกับผู้ปกครอง
ภาพกิจกรรมวันพฤหัสบดี
กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม ส่งเทียน
ขั้นเตรียม
ขั้นกิจกรรม
ขั้นจบ
PBL
ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ครูเล่านิทานเรื่อง “
ครอบครัว หึ่ง หึ่ง”
ครูและนักเรียนเดินสำรวจฟาร์มของพี่สัตว์ต่างๆและสถานที่ภายในโรงเรียนว่าเหมือนหรือแตกต่างกับครอบครัวของนักเรียนอย่างไรครูกระตุ้นด้วยคำถาม
“นักเรียนเห็นครอบครัวของพี่สัตว์มีใครบ้าง”ถ้าในครอบครัว ไม่มีคุณพ่อ คุณแม่ เด็กๆคิดว่าจะเป็นอย่างไรจากนั้นนักเรียนประดิษฐ์กรอบรูปครอบครัวของ
ภาพกิจกรรมวันศุกร์
กิจกรรม จิตศึกษา
ชื่อกิจกรรม ต่อเรโก้
ขั้นเตรียม
ขั้นกิจกรรม
ขั้นจบ
นักเรียน เรียนภาษาอังกฤษ
การทดลองวิทยาศาสตร์
ครูนำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกตเช่น (แผงไข่ ต้นหอม) ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “นำมาทำอะไรได้บ้าง?” ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปลูกต้นหอมไร่ดินจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันปลูก“ต้นหอม”
ภาพกิจกรรมสุนทรียะ และการแสดงละคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น